วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ตำแหน่งของก่ารออกเสียงและลักษณะวิธีออกเสียง (Place and Manner of Articulation)

                ในการแปรเสียงหรือกล่อมเกลาเสียง (Articulation) เพื่อให้เกิดเป็นเสียงพยัญชนะต่างๆในภาษานั้น การแปรเสียงหรือกล่อมเกลาเสียงจะเกิดขึ้น ณ จุดต่างๆ (Place of Articulation) ภายในช่องออกเสียง (Vocal Tract) ของเรา ในบทนี้จะกล่าวถึงบริเวณต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นตำแหน่งที่เกิดของเสียงในภาษาต่างๆ ตลอดจนลักษณะวิธีออกเสียง (Manner of Articulation) แบบต่างๆ ที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ในภาษาต่างๆ โดยละเอียด โดยจะยกตัวอย่างเสียงต่างในภาษาประกอบด้วย
ตำแหน่งของการเกิดเสียงบริเวณต่างๆ (Place of Articulation)
            คำนี้ถ้าจะเรียกให้สั้นและย่อมีชื่อเฉพาะว่าฐานกรณ์ ซึ่งหมายถึงอวัยวะแปรเสียงหรือกล่อมเกลาเสียงโดยรวม แต่ถ้าจะแยกกลุ่มของอวัยวะแปรเสียงออกมาตามลักษณะของการเคลื่อนไหวก็จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.                  กลุ่มที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (Passive Articulator หรือ Upper Articulator) หรือมีชื่อเฉพาะสั้นๆ ว่า ฐาน ซึ่งได้แก่ อวัยวะต่อไปนี้
-          ริมฝีปากบน (upper lip)
-          ฟันบน (upper teeth)
-          ปุ่มเหงือก (gum ridge หรือ alveolar ridge)
-          เพดานแข็ง (hard palate)
-          เพดานอ่อน (soft palate หรือ velum)
-          ลิ้นไก่ (uvula) อวัยวะชิ้นนี้แม้ว่าจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า upper articulators หรืออวัยวะที่อยู่ส่วนบนของช่องปากหรือเพดานปากก็ตาม แต่เป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนที่ได้
2.                  กลุ่มที่เคลื่อนที่ได้ (Active Articulator หรือ Lower Articulator) หรือมีชื่อเฉพาะสั้นๆ ว่า กรณ์ ซึ่งได้แก่ อวัยวะต่อไปนี้ คือ
-                      ริมฝีปากล่าง (Lower lip)
-                      ลิ้น (tongue) ซิงเป็นอวัยวะที่มีความยืดหยุ่นตัวสูงที่สุดดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ในบทที่ว่าด้วยเรื่องอวัยวะในการแกเสียง ในการทำให้เกิดเสียงพยัญชนะเสียงใดเสียงหนึ่งขึ้นมานั้น กระแสอากาซที่เดินทางผ่านเข้ามาในช่องออกเสียง (vocal tract) จะต้องถูกกักกั้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง การกักกั้นกระแสอากาศก็จะกระทำได้โดยอวัยวะกลุ่มที่เคลื่อนที่ได้ (Active Articulators) จะเคลื่อนที่เข้าไปหา, เข้าไปใกล้, หรือเข้าไปชิดอวัยวะกลุ่มที่เคลื่อนที่ไม่ได้(Passive Articulator) เมื่อกระแสอากาศเดินทางผ่านจุดกักกั้นเหล่านั้นก็จะก่อให้เกิดเสยงพยัญชนะประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของการกักกั้นกระแสอากาศหรือที่เรียกว่าลักษณะวิธีออกเสียง (Manner of Articulation) ณ จุดเกิดเสียงต่างๆกัน และคำที่ใช้สำหรับเรียกชื่อพยัญชนะส่วนหนึ่งก็มาจากคำระบุตำแหน่งของการกักกั้นกระแสอากาศดังกล่าว ซึ่งได้แก่
Bilabial (เสียงที่เกิดจากริมฝีปากทั้งคู่) เกิดจากริมฝีปากล่างเคลื่อนเข้าไปหาริมฝีปากบน เช่น เสียงแรกของคำว่า “my” ในภาษอังกฤษ เสียงแรกของคำว่า “ปู” ในภาษาไทย
Labiodental (เสียงที่เกิดจากริมฝีปากล่างและฟันบน) เกิดจากริมฝีปากล่างเคลื่อนเข้าไปหาฟันบนด้านหน้า เช่น เสียงแรกของคำว่า “เฝ้า” ในภาษาไทย, เสียงแรกของคำว่า “van” ในภาษาอังกฤษ
Dental (เสียงที่เกิดจากปลายลิ้นหรือส่วนถัดจากปลายลิ้นกับฟันบน) เกิดจากปลายลิ้นหรือส่วนถัดจากปลายลิ้นเคลื่อนเข้าไปหาฟันบนด้านหน้า เช่น เสียงแรกของคำว่า “thin” ในภาษาอังกฤษ
Alveolar (เสียงที่เกิดจากปลายลิ้นหรือส่วนถัดจากปลายลิ้นกับปุ่มเหงือก) เกิดจากปลายลิ้นหรือส่วนถัดจากปลายลิ้นเคลื่อนเข้าไปหาปุ่มเหงือก เช่น เสียงแรกของคำว่า “นก” ในภาษาไทย, เสียงแรกของคำว่า “tip” ในภาษาอังกฤษ
Retroflex (เสียงที่เกิดจากปลายลิ้นหรือส่วนใต้ปลายลิ้นกับส่วนปลายสุดของปุ่มเหงือกที่ต่อกับเพดานแข็ง) เกิดจากปลายลิ้นซึ่งอาจจะเป็นผิวบน (upper surface) หรือส่วนใต้ปลายลิ้นเคลื่อนเข้าไปหาส่วนปลายสุดของปุ่มเหงือกที่ต่อกับเพดานแข็ง เช่น เสียงตัว “ร” หรือ “ส” ในตำแหน่งพยัญชนะต้นของภาษาไทยถิ่นใต้บางสำเนียง และเสียง “r” ในภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันบางสำเนียง
Palato-Alveolar (เสียงที่เกิดจากส่วนถัดจากปลายลิ้นกับส่วนปลายสุดของปุ่มเหงือก) เกิดจากการใช้ส่วนถัดปลายลิ้นเคลื่อนเข้าไปหาส่วนปลายสุดของปุ่มเหงือกที่ต่อกับเพดานแข็ง เช่น เสียงแรกของคำว่า “show” ในภาษาอังกฤษ
Palatal (เสียงที่เกิดจากลิ้นส่วนต้นกับเพดานแข็ง) เกิดจากการใช้ลิ้นส่วนต้น (front of the tongue) เคลื่อนเข้าไปหาเพดานแข็ง เช่น เสียงแรกของคำที่แปลว่า “ยาก” ในภาษาไทยถิ่นอีสาน [ø] และเสียงแรกของคำว่า “nyamuk” ในภาษามาเลเซีย ซึ่งแปลว่า ยุง
Velar (เสียงที่เกิดจากลิ้นส่วนหลังกับเพดานอ่อน) เกิดจากการใช้ลิ้นส่วนหลังเคลื่อนเข้าไปหาเพดานอ่อน เช่น เสียงแรกของคำว่า “คน” ในภาษาไทย เสียงแรกของคำว่า “give” ในภาษาอังกฤษ
Uvular (เสียงที่เกิดจากลิ้นส่วนหลังกับลิ้นไก่) เกิดจากการยกลิ้นส่วนหลังเข้าไปหาลิ้นไก่ เช่น เสียงแรกของคำว่า “rouge” ในภาษาฝรั่งเศส
Pharyngeal (เสียงที่เกิดจากโคนลิ้นกับผนังช่องคอด้านหลัง) เกิดจากการดึงโคนลิ้นไปทางด้านหลังเข้าหาผนังช่องคอด้านหลัง เช่น เสียงแรกในคำที่แปลว่า “ลุง” ในภาษาอาหรับ ([?amm])
Glottal (เสียงที่เกิดจากเส้นเสียง) เกิดจากการเคลื่อนเข้าหากันของเส้นเสียงทั้งคู่ โดยอาจจะเคลื่อนเข้ามาติดกัน เช่น เสียงแรกของคำว่า “home” ในภาษาอังกฤษ, เสียงแรกของคำว่า “อู่” ในภาษาไทย
                          ดัดแปลงจาก www.sil.org/computing/ipahelp/ip...ace2.htm
ตารางแสดงตำแหน่งของการเกิดเสียง
Point of articulation
Active articulators
Passive articulators
Examples
1.   Bilabial
Lower lip
Upper lip
[m,p,b,¸,B,º,]
2.   Labiodental
Lower lip
Upper teeth
[M,f,v,V]
3.  Dental
Tip of the tongue
Upper teeth
[T,D]
4.  Alveolar
Tip of the tongue
Alveolar ridge
[n,t,d,s,z,Z,Â,l,r,t',ë]
5.  Post alveolar
Tip of the tongue
Post alveolar
[S,!]
6.  Retroflex
Tip of the tongue
Post alveolar
[÷,ê,§,½,ñ,]
7.  Palato-alveolar
Tip of the tongue
Hard palate
[S,Z]
8.   Palatal
Front of the tongue
Hard palate
[ø,c,ï,þ,´]
9.  Velar
Back of the tongue
Soft palate
[N,k,g,x]
10.  Uvular
Back of the tongue
Uvular
[N, q,G, X,Ò,R]
11.  Pharyngeal
Root of the tongue
Back wall of the pharynx
[ð,?]
12.  Glottal
Vocal cords
Vocal cords
[?,h,ú,]
13.  Labial-palatal
Lower lip
Center of the tongue
Upper lip
Hard palate
[ç]
14.  Labial-Velar
Lower lip
Back of the tongue
Upper lip
Soft palate
[kƒp,gƒb,w]


2 ความคิดเห็น:

  1. ในหัวข้อบอก place and manners แต่ในเนื้อหาไม่มี manners แก้ไขด้วยนะค่ะ

    ตอบลบ